วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์


องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ


1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่มองเห็นและจับต้องสัมผัสได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Case) เมนบอร์ด (Mainboard) และอุปกรณ์ต่อพ่วงรอบข้าง (Peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ แป้นพิมพ์ เม้าส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ฮาร์ดแวร์จะไม่สามารถทำงานด้วยตัวเองเดี่ยว ๆ ได้ จะต้องนำมาต่อเชื่อมเพื่อทำงานร่วมกันเป็นระบบที่เรียกว่า "ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)" ที่มีโครงสร้างของระบบจะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น

      2. ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรม (Program) หรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานได้ในทันที ต้องมีซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามต้องการได้ โดยโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้นจะเขียนจากภาษาต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมีโปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์แบบต่าง ๆ ขึ้นมา
          ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
               1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการและควบคุม ทรัพยากรต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ และอำนวยความสะดวกด้านเครื่องมือสำหรับการทำงานพื้นฐานต่าง ๆ ตั้งแต่ผู้ใช้เริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำงานจะเป็นไปตามชุดคำสั่งที่เขียนขึ้น ตลอดจนควบคุมการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์


               2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น เพื่อใช้งานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น งานด้านการจัดทำเอกสาร การทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนงานด้านอื่น ๆ ตามแต่ผู้ใช้ต้องการ




3. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information) คือ ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลคำนวณ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลบุคลากรเกี่ยวกับรายละเอียดประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาหรือ ประวัติการทำงาน ซึ่งอาจนำมาจำแนกเป็นรายงานต่างๆ เกี่ยวกับบุคลากรในหน่วยงานได้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขมาตรๆ ไฟฟ้าของบ้านแต่ละหลัง ก็ใช้สำหรับคำนวณเป็นปริมาณไฟฟ้า ที่ใช้ในแต่ละเดือน แล้วคิดเป็นเงิน ที่จะต้องชำระให้กับการไฟฟ้าฯ

4. บุคคลากร (Peopleware) คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ และผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้นๆ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้น มีความสำคัญมาก เพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นจะต้องมีการจัดเตรียมเปลี่ยนระบบ จัดเตรียมโปรแกรมดำเนินการต่างๆ หลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้ ถ้าหากไม่ใช่ผู้ที่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากนัก เราจึงถือว่าบุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้

- เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Operator)

- บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ (System)

- ผู้จัดการศูนย์ประมวลผลคอมพิวเตอร์ (Electronic Data Processing Manager)

- ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer user)

5. กระบวนการทำงาน (Documentation/Procedure) เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน ต้องมีระเบียบปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกัน มีการจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้อ้างอิงได้นอกจากนั้นเมื่อการใช้มาตรฐาน ช่วยให้การประสานงาน ระหว่างหน่วยงานย่อยๆ ราบรื่น การจัดซื้อจัดหา ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ก็จะง่ายขึ้นเพราะทุกหน่วยงานใช้มาตรฐานเดียวกัน


ที่มา http://www.baanjomyut.com/library_3/extension-1/computing_infrastructure/05.html

ซอฟแวร์ระบบ(System Software)



ซอฟต์แวร์ระบบ

     คือซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการประสานงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ(operating sytem) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ ลินุกซ์ เป็นต้น

     คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้หากปราศจากระบบปฏิบัติการ ซึ่งช่วยให้มนุษย์ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ เราสามารถสั่งงานผ่านระบบปฏิบัติการให้คอมพิวเตอร์คำนวณ ให้แสดงภาพให้พิมพ์ข้อความหรือผลลัพธ์ออกมาทางเครื่องพิมพ์เนื่องจากระบบปฏิบัติการทำหน้าที่ประสานงานระหว่างโปรแกรมต่างๆ กับฮาร์ดแวร์ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ หน่วยรับเข้า และหน่วยส่งออก ซอฟต์แวร์ประยุกต์ไม่ว่าประเภทใดล้วนแต่ต้องทำงานบนระบบปฏิบัติการทั้งสิ้นเนื่องจากคอมพิวเตอร์จะไม่ทำงานถ้าไม่มีระบบปฏิบัติการ การเริ่มใช้งานคอมพิวเตอร์ทุกครั้งจึงต้องบรรจุ( load ) ระบบปฏิบัติการเข้าไว้ในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะให้เครื่องเริ่มทำงานอย่างอื่น


     ระบบปฏิบัติการกับการปฏิบัติงานของคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการทำหน้าที่ประสานงานหรือกำกับดูแลการงานของคอมพิวเตอร์ ในการกำหนดว่าจะเก็บโปรแกรมหรือข้อมูลไว้ในส่วนใดของหน่วยความจำ ดูแลการติดต่อระหว่างส่วนต่างๆของคอมพิวเตอร์กับโปรแกรมใช้งาน หรือผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ควบคุมการส่งสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ขึ้นไปปรากฏบนจอภาพ ควบคุมการพิมพ์ ตัวอย่างเช่น ควบคุมการแปลสัญญาณจากแป้นพิมพ์ให้เครื่องรับรู้ ควบคุมการบันทึกหรือการอ่านข้อมูลของเครื่องขับแผ่นบันทึก นอกจากนี้ในปัจจุบันการทำงานในลักษณะกลุ่ม และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีบทบาทในการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวาง ทำให้ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นมาในระยะหลังๆจำเป็นต้องมีความสามารถในการทำงานและให้บริการบนเครือข่ายเพิ่มขึ้นโดยระบบปฏิบัติการมีหน้าที่จัดการงานในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์จัดสรรให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมในเครือข่ายสามารถใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกัน เช่น การใช้งานเครื่องพิมพ์ร่วมกัน และ ควบคุมดูแลการใช้งานข้อมูลส่วนกลางซึ่งอยู่ในเครื่องที่ทำหน้าที่เป็นแม่ข่าย โดยสามารถกำหนดสิทธิในการเข้าใช้ข้อมูลของผู้ใช้ที่อยู่ในกลุ่ม มีระบบป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับข้อมูล


ประเภทของระบบปฏิบัติการ
เนื่องจากระบบปฏิบัติการเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้แต่ด้วยเครื่องคอมพิวคอมพิวเตอร์ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันมีสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกัน เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานทั่วไปจะมีคุณสมบัติและการทำงานที่แตกต่างจากคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น มินิคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องให้บริการที่ต้องคอยให้บริการและดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นบริวารจำนวนมากระบบปฏิบัติการที่ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทนี้จึงต้องมีความซับซ้อนกว่าระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และเราสามารถแบ่งประเภทของระบบปฏิบัติการตามลักษณะการทำงานได้เป็น 3 ประเภทดังนี้


1) ประเภทใช้งานเดียว (single-tasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น ใช้ในเครื่องขนาดเล็กอย่างไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการดอส

2) ประเภทใช้หลายงาน (multitasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงานในขณะเดียวกัน ผู้ใช้สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน โดยระบบปฏิบัติการจัดสรรทั้งเวลาและเนื้อที่ที่ต้องใช้ในการประมวลผลคำสั่งของซอฟต์แวร์แต่ละชนิด เช่น แบ่งปันเวลาในการประมวลผลของซีพียูและแบ่งเนื้อที่ในหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูลและคำสั่งของซอฟต์แวร์ที่ใช้งาน เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 95 และ 98

3) ประเภทใช้งานหลายคน (multiuser)ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล ทำให้ในขณะใดขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคนแต่ละคนจะมีสถานีงานของตนเองเชื่อต่อกับคอมพิวเตอร์จึงต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถในการจัดการสูง เพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถทำงานเสร็จในเวลา ระบบปฏิบัติการในกลุ่มนี้ เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็นที







ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ
เนื่องจากระบบปฏิบัติการจะต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างโปรแกรมใช้งาน ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงมีหลายชนิด ปัจจุบันระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้งานกันแพร่หลายมีดังนี้
1) ระบบปฏิบัติการดอส ( Disk Operating System : DOS)บริษัทไอบีเอ็มผลิตเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ขึ้นมาและให้ชื่อว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้มอบหมายให้บริษัทไมโครซอฟต์เป็นผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการโดยให้ชื่อว่า พีซีดอส ต่อมาเมื่อไมโครคอมพิวเตอร์แบบนี้เป็นที่แพร่หลาย จึงมีผู้ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานแบบเดียวกับไมโครคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็ม ไมโครคอมพิวเตอร์เหล่านี้ จะใช้ระบบปฏิบัติการของ บริษัทไมโครซอฟต์ เช่นกันแต่ใช้ว่า เอ็มเอสดอส (Microsoft Disk Operating System : MS-DOS) ซึ่งมีการทำงานคล้าย พีซีดอส แต่ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมแล้ว



2) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX) เป็นระบบปฏิบัติการประเภทใช้หลายคน และหลายงาน ได้มีผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ให้สามารถใช้กับเครื่องชนิดต่างๆ หลายระบบโดยตั้งชื่อใหม่ เช่น ซีนิกซ์ (Xenix) วีนิกซ์ (vinix) ไมโครนิกซ์ (Micronix) เอไอเอกซ์ (AIX) อัลทริกซ์ (Altrix) เป็นต้น ปัจจุบันมีความพยายามจะกำหนดให้ระบบปฏิบัติการที่มีชื่อต่างๆ เหล่านี้เป็นมาตรฐานเดียวกันโปรแกรมที่พัฒนาภายใต้ระบบยูนิกซ์นี้ มีข้อดีตรงที่ไม่ต้องขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ



3) ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ (Microsoft Windows)ระบบปฏิบัติการนี้พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะการใช้งานแตกต่างจาก 2 ระบบแรกที่กล่าวมา เนื่องจากมีส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (user interface) เป็นแบบที่เรียกว่าระบบ ติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก (Graphical User Interface : GUI) หรือที่เรียกว่า จียูไอ คือ มีการแสดงผลเป็นรูปภาพ และใช้สัญลักษณ์ในรูปรายการที่เลือก (MENU) หรือสัญรูป(Icon) ในการสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานแทนการพิมพ์ทีละบรรทัด ทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ง่ายขึ้นทั้งยังมีสีสันทำให้ซอฟต์แวร์น่าใช้งานมากขึ้นระบบปฏิบัติการวินโดวส์นี้เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมสูงมากในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วไปทั้งนี้นอกจากจะเป็นเพราะความง่ายในการใช้งานที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังเป็นเพราะหลังจากที่บริษัทไมโครซอฟต์ได้ผลิตระบบปฏิบัติการนี้ออกสู่ตลาด ก็ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่สามารถใช้งานบนระบบปฏิบัติการนี้ขึ้นหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์ในกลุ่มซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน หรือซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูล ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานของผู้ใช้ในทุกๆ ด้าน ทำให้เกิดการใช้งานที่แพร่หลาย นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ๆ ที่สนับสนุนการใช้งานกับเทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเริ่มตั้งแต่วินโดวส์รุ่นแรก
1. Windows 3.11 ซึ่งเป็นรุ่นแรกที่ทำงานบนเครื่องเดียวการจัดการแบบ file manager แต่ไม่นับเป็นซอฟต์แวร์ระบบ
2. Windows 95 สามารถทำงานเป็นกลุ่มหรือเครือข่ายภายในองค์กรที่ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้
3. Windows 98 สามารถทำงานเป็นกลุ่มหรือเครือข่ายภายในองค์กรที่ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้
4. Windows Me สามารถทำงานเป็นกลุ่มหรือเครือข่ายภายในองค์กรที่ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้สนับสนุนทางด้านมัลติมีเดีย
5. Windows NT เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่สามารถจัดการด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย จัดการด้านการใช้งานอุปกรณ์ร่วมกัน และดูแลจัดสรรและรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
6. Windows 2000 Advance Server เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่สามารถจัดการด้านการติดต่อ
สื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย จัดการด้านการใช้งานอุปกรณ์ร่วมกัน และดูแลจัดสรรและรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
7. Windows XP สามารถทำงานเป็นกลุ่มหรือเครือข่ายภายในองค์กรที่ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้
สนับสนุนทางด้านมัลติมีเดียสามารถจัดการด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย จัดการด้านการใช้งานอุปกรณ์ร่วมกัน และดูแลจัดสรรและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้ในระดับหนึ่ง
8. Windows CE เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์พกพา
9. Windows Vista เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์เฉพาะเครื่อง



4)ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ (Linux)เป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ระบบหนึ่งเช่นเดียวกับซีนิกซ์หรือวีนิกซ์ ได้รับการพัฒนาโดยนักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัยเฮลซินกิประเทศฟินแลนด์ชื่อลีนุซ ทอร์วาลด์ (Linus Torvalds)เขาเริ่มพัฒนาระบบปฏิบัติการดังกล่าวในปี พ.ศ. 2523 ด้วยเขาต้องการพัฒนาระบบปฏิบัติยูนิกซ์ที่มีความสามารถมากกว่าไมนิกซ์ซึ่งเขาใช้งานอยู่ จึงเริ่มต้นพัฒนาระบบปฏิบัติการนี้เอง โดยไม่ได้ลอกเลียนแบบจากระบบยูนิกซ์อื่นเลย และในปี พ.ศ. 2534 ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เวอร์ชั่น 0.010 ก็ได้รับการเผยแพร่ โดยมีการแจกให้ใช้งานฟรีรวมทั้งรหัสต้นแบบ (source code) ก็เป็นที่เปิดเผย จึงเป็นที่นิยมและมีผู้นำไปพัฒนาลีนุกซ์ของตนเองขึ้นใช้งานมากมาย รวมทั้งมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ขึ้นใช้งานบนลีนุกซ์อีกด้วย



5)ระบบปฏิบัติ MAC OS X พัฒนามาจากรุ่น MAX OS 9 (X คือ เลข10 แบบโรมันเป็นระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะเครื่องของบริษัท แอปเปิ้ลเท่านั้น ซึ่งเน้นงานประเภทกราฟิก และศิลปะเป็นหลัก ทั้งนี้รูปแบบการทำงานแบบต่าง ๆ ของ MAC OS X จะสนับสนุนแบบ GCI เช่นเดียวกับระบบปฏิบัติการ WINDOWS ด้วยเหตุที่มีผู้นำรหัสต้นแบบของ ระบบปฏิบัติการระบบนี้ มาพัฒนาเป็นของตนเองมากมายและเนื่องจากในปัจจุบันแนวคิดของจียูไอกำลังเป็นที่นิยม จึงมีการพัฒนาระบบปฏิบัติการลินุกซ์ ให้สามารถทำงานบนระบบเอกซ์วินโดวส์ (X Windows) ซึ่งเป็นระบบที่มีการติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิก และถือได้ว่า ลินุกซ์เป็นยูนิกซ์ที่สมบูรณ์แบบ อีกทั้งเป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถทำงานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประสิทธิภาพไม่สูงมาก เช่น เครื่องในตระกูล 80386 ได้ และต้องการหน่วยความจำเพียง 2 เมกะไบต์ในการทำงานบนสภาวะตัวอักษร (text mode) หรือ 64 เมกะไบต์ในการทำงานบนเอกซ์วินโดวส์



     แอนดรอยด์ เป็นระบบปฏิบัติการที่มีพื้นฐานอยู่บนลินุกซ์ ถูกออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้จอสัมผัส เช่นสมาร์ตโฟน และแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ถูกคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท แอนดรอยด์ (Android, Inc.) ซึ่งต่อมา กูเกิล ได้ทำการซื้อต่อบริษัทในปี พ.ศ. 2548 แอนดรอยด์ถูกเปิดตัวเมื่อ ปี พ.ศ. 2550 พร้อมกับการก่อตั้งโอเพนแฮนด์เซตอัลไลแอนซ์ ซึ่งเป็นกลุ่มของบริษัทผลิตฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการสื่อสารคมนาคม ที่ร่วมมือกันสร้างมาตรฐานเปิด สำหรับอุปกรณ์พกพา โดยสมาร์ตโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เครื่องแรกของโลกคือ เอชทีซี ดรีม วางจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2551

แอนดรอยด์เป็นระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์ซ และกูเกิลได้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์อาปาเช ซึ่งโอเพนซอร์ซจะอนุญาตให้ผู้ผลิตปรับแต่งและวางจำหน่ายได้ รวมไปถึงนักพัฒนาและผู้ให้บริการเครือข่ายด้วย อีกทั้งแอนดรอยด์ยังเป็นระบบปฏิบัติการที่รวมนักพัฒนาที่เขียนโปรแกรมประยุกต์ มากมาย ภายใต้ภาษาจาวา ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 มีโปรแกรมมากกว่า 700,000 โปรแกรมสำหรับแอนดรอยด์ และยอดดาวน์โหลดจากกูเกิล เพลย์ มากถึง 2.5 หมื่นล้านครั้งจากการสำรวจในช่วงเดือน เมษายน ถึง พฤษภาคม ในปี พ.ศ. 2556 พบว่าแอนดรอยด์เป็นระบบปฏิบัติการที่นักพัฒนาเลือกที่จะพัฒนาโปรแกรมมากที่สุด ถึง 71%

ปัจจัยเหล่านี้ทำให้แอนดรอยด์เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน นำหน้าซิมเบียน ในไตรมาสที่ 4 ของปี พ.ศ. 2553 และยังเป็นทางเลือกของผู้ผลิตที่จะใช้ซอฟต์แวร์ ที่มีราคาต่ำ, ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ดี สำหรับอุปกรณ์ในสมัยใหม่ แม้ว่าแอนดรอยด์จะดูเหมือนได้รับการพัฒนาเพื่อใช้กับสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต แต่มันยังสามารถใช้ได้กับโทรทัศน์, เครื่องเล่นวิดีโอเกม, กล้องดิจิทัล และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ แอนดรอยด์เป็นระบบเปิด ทำให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาคุณสมบัติใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา




     iOS (ก่อนหน้าiPhone OS ) เป็นระบบปฏิบัติการมือถือที่พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยบริษัท Apple Incออกจำหน่ายในปี 2007 สำหรับiPhoneและiPod Touch ของมันได้รับการขยายเพื่อรองรับอุปกรณ์ที่แอปเปิ้ลอื่น ๆ เช่นiPadและโทรทัศน์แอปเปิ้ล
ซึ่งแตกต่างจากไมโครซอฟท์ 's Windows CE (Windows โทรศัพท์ ) และGoogle 's Android , แอปเปิ้ลไม่ได้ใบอนุญาตสำหรับการติดตั้ง iOS บนฮาร์ดแวร์ที่ไม่ใช่แอปเปิ้ล ณ วันที่ 12 มิถุนายน 2012 , แอปเปิ้ลที่ App Storeมีมากกว่า 650,000 โปรแกรม iOS ซึ่งได้รับการเรียกรวมดาวน์โหลดมากกว่า 30 ล้านครั้ง มันมีส่วนแบ่ง 16% จากมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการหน่วยที่ขายในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2010 หลังทั้งสองของ Google 's AndroidและNokia 's Symbian ในเดือนพฤษภาคม 2010 ในประเทศสหรัฐอเมริกาก็คิดเป็น 59% ของ
การใช้โทรศัพท์มือถือบนเว็บของข้อมูล(รวมถึงการใช้ทั้งบนไอพอดทัชและไอแพด )
ส่วนติดต่อผู้ใช้ของ iOS ขึ้นอยู่กับแนวคิดของการจัดการตรงโดยใช้ท่าทางสัมผัสหลาย . องค์ประกอบการควบคุมการเชื่อมต่อประกอบด้วยเลื่อนสวิตช์และปุ่ม เพื่อตอบสนองผู้ใช้ป้อนเป็นได้ทันทีและให้อินเตอร์เฟซของเหลว ปฏิสัมพันธ์กับระบบปฏิบัติการรวมถึงท่าทางเช่นรูด , แตะ , หยิกและหยิกย้อนกลับซึ่งทั้งหมดนี้มีความหมายเฉพาะในบริบทของระบบปฏิบัติการ iOS และอินเตอร์เฟซแบบมัลติทัชของมัน ภายในaccelerometersถูกนำมาใช้โดยการใช้งานบางอย่างเพื่อตอบสนองต่อการสั่นของอุปกรณ์ (หนึ่งผลเหมือนกันคือคำสั่ง undo) หรือหมุนมันในสามมิติ (หนึ่งผลร่วมกันคือการเปลี่ยนจากแนวตั้งเป็นโหมดแนวนอน)
iOS มาจากOS Xกับที่มันหุ้นดาร์วินรากฐานและดังนั้นจึงเป็นUnixระบบปฏิบัติการ
ใน Ios, มีสี่เป็นชั้น abstractionหลักของระบบปฏิบัติการชั้น: Core Servicesชั้นชั้น Media, และโกโก้ Touchชั้น รุ่นปัจจุบันของระบบปฏิบัติการ (IOS 5.1.1) อุทิศ 1-1.5 GB ของหน่วยความจำแฟลชของอุปกรณ์สำหรับพาร์ติชันระบบที่ใช้ประมาณ 800 MB ของพาร์ติชันที่ (ที่แตกต่างกันไปตามรุ่น) สำหรับ iOS ตัวเอง




     ระบบปฏิบัติการซิมเบียน (Symbian OS)

     ระบบปฏิบัติการ Symbian คือระบบปฏิบัติการที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อรองรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย และออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ในงานกับโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นหลัก ในการรับส่งข้อมูล เป็นระบบที่ใช้งานง่าย ประหยัดพลังงาน ใช้หน่วยความจำขนาดเล็ก และมีความปลอดภัยสูง ทำให้เหมาะที่จะนำมาใช้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่
MobileOS

     เนื่องจากเทคโนโลยีของโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและการแข่งขันที่สูง ทำให้ในระยะช่วงเวลาเพียงไม่กี่ปีเท่านั้นจึงเกิดการ พัฒนาไปอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และเพื่อช่วงชิงความเป็นเจ้าในการครองส่วนแบ่งทางการตลาด จึงทำให้ผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ พยามใส่คุณสมบัติต่าง ๆ เข้าไปในโทรศัพท์เคลื่อนที่ และสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อให้ผู้ใช้งาน สามารถปรับแต่งการตั้งค่าต่าง ๆ ได้ตามความต้องการของตัวเองที่สุด และเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า กลุ่มที่ต้องการใช้งานทางด้านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต การรับ - ส่ง อีเมล์ และ การใช้งานที่ใกล้เคียงกับอุปกรณ์ PDA จึงเกิดระบบปฏิบัติการ (Operating System) บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ขึ้น และในปัจจุบันระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ได้มี การใช้การ กันในกลุ่มผู้ผลิต โทรศัพท์เคลื่อนที่หลาย ๆ บริษัทได้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งมีระบบปฏิบัติการ ออกวางจำหน่าย โดยระบบปฏิบัติการ ที่นิยมใช้งาน อยู่ในปัจจุบันก็มีอยู่ 2 ค่ายคือ ซิมเบียน (Symbian OS) และ สมาท์โฟน (Smathphone) จากค่าย Microsoft






      วินโดวส์โฟน เป็นตระกูลระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือกรรมสิทธิ์ ที่พัฒนาโดยไมโครซอฟท์ และเป็นทายาทที่ของวินโดวส์โมเบิล แม้ว่าจะขัดกับมัน มีวัตถุประสงค์หลักในตลาดผู้บริโภคมากกว่าตลาดองค์กร เปิดตัวครั้งแรกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2010 พร้อมกับการเปิดตัวในทวีปเอเชียต่อไปในช่วงต้นปี ค.ศ. 2011

เวอร์ชันล่าสุดของวินโดวส์โฟนคือ วินโดวส์โฟน 8 ซึ่งได้รับการบริการให้แก่ผู้บริโภคตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2012

ด้วยระบบปฏิบัติการวินโดวส์โฟน ไมโครซอฟท์สร้างผู้ใช้ใหม่ในอินเตอร์เฟซ ที่มีภาษาการออกแบบที่เรียกว่า โมเดิร์นสไตล์ ยูไอ นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ถูกรวมเข้ากับบริการของบุคคลที่สามและการบริการของ ไมโครซอฟท์




หน่วยความจำคอมพิวเตอร์

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ > หน่วยความจำ (Memory Unit)

หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูล และโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเรียกว่าหน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary storage)

สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

2.2.1 หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory - ROM)

เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึก

ซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นความจำที่ซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากน่วยความจำ (nonvolatile)

โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่น เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเครื่องคิดเลขใช้เก็บโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทำงาน

เฉพาะด้าน เช่น ในรถยนต์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมวงจร ควบคุมในเครื่องซักผ้า เป็นต้น




2.2.2 หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory - RAM)

เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว

ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น



internal storge หรือเป็นหน่วยเก็บข้อมูลและโปรแกรมชั่วคราว( temporary storage)
เมื่อปิดเคื่รองคอมพิวเตอร์ข้อมูลหรือโปรเเกรมทุกอย่าง ที่เก็บในแรมจะหายไป เนื่องจากไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง หน่วยเก็บข้อมูลประเภทนี้จึงเรียกว่า volatile ดังนั้นจัดเก็บข้อมูลอย่างถาวร ไว้ใช้งานในภายหลัง จึงจำเป็นจะตอ้งมีหน่วยเก็บเข้อมูลภายนอกที่เรียกว่า external storage หรือ secondary storage หรือ auxiliary storage ซึ่งสามารถจัดเก็บข้อมูลสำหรับการประมวลผลไว้ได้ถึงแม้ว่าจะไม่มีกระเเส ไฟฟ้าหล่อเลี้ยง( non-volatile) ก็ตาม

กระบวนการในการเก็บข้อมูล เรียกว่า การเขียนหรือการบันทึกข้อมูล ( writing หรือ recording data)
เนื่องจากว่า อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง จะบันทึกข้อมูลในรูปของสื่อต่างๆที่สามารถนำมาเร๊ยกในภายหลังได้ กระบวนการดึงข้อมูลมาใช้เรียกว่า retrieving data เเละถ้าเป็นการอ่านข้อมูลจะเรียกว่า reading data เพราะอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองจะอ่านข้อมูลและถ่ายโอนไปยังหน่วยความจำหลัก เพื่อการประมวลผลต่อไป

การใช้งานคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานต่างๆ จะมีความต้องการอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป เช่น บริษัทประกันและธนาคาร อาจมีความต้องการอุปกรณ์ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าได้จำนวนมาก ในขณะที่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอาจต้องการอุปกรณ์ ในการจัดเก็บข้อมูลไม่มากนัก




หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Unit)


อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

จานแม่เหล็ก ( magnetic disk storage)






จานแม่เหล็กเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภท จานแม่เหล็กประกอบด้วยแผ่นพลาสติกหรือโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก ข้อมูลสามารถบันทึกและอ่านจากผิวหน้าที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กนี้ จานแม่เหล็กเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่มีความจุสูง มีความเชื่อถือได้ และยังสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ประเภทของจานแม่เหล็ก เช่น ฮาร์ดดิสก์ ( hard disk )

ฟลอปปี้ดิสก์ ( floppy disks)




ฟลอปปี้ดิสก์ นิยมเรียกโดยทั่วไปว่า ดิสก์เกตต์ ( diskettes) หรือดิสก์ ( disks) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองที่สามารถพกพาและเคลื่อนย้ายได้สะดวก ฟลอปปีดิสก์ ในรุ่นแรก ๆ จะมีขนาด 8 นิ้ว และ 5.25 นิ้ว แต่ปัจจุบันนิยมใช้ขนาด 3.5 นิ้วแต่เดิมฟลอปปีดิสก์เรียกว่า ฟลอปปี ( floppies) เพราะดิสก์มีลักษณะที่บางและยืดหยุ่น แต่ปัจจุบันลักษณะของดิสก์ได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ เป็นดิสก์ที่หุ้มด้วยแผ่นพลาสติกแข็ง แต่เนื้อดิสก์ภายในยังคงอ่อนเหมือนเดิม จึงเรียกฟลอปปี้เช่นเดิม


ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/18/prakopmemory.html

ความหมาย Hardware, Software, People Ware และ Data

ฮาร์ดแวร์ (Hardware) 
หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit: CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน

ซอฟต์แวร์ (Software) 
หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งได้ ดังนี้
  • ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ (System Software) คือ ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows, UNIX, Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, FORTRAN, Pascal, COBOL, C เป็นต้น นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton’s Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน 
  • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ

    - ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ บางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไข หรือแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการ หรือกฎเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เขียนขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัวพัฒนา

    - ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้องใช้เวลามากในการฝึกและปฏิบัติ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ มักจะมีการใช้งานในหน่วยงานที่ขาดบุคลากรที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเขียนโปรแกรม ดังนั้น การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้ได้แก่ MS-Office, Lotus, Adobe Photoshop, SPSS, Internet Explorer และ เกมส์ต่างๆ เป็นต้น
บุคลากร (People ware) 
หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้
  • ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
  • นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน 
  • โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้ 
  • ผู้ใช้ (User) คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ

    เนื่องจากเป็นผู้กำหนดโปรแกรมและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ มนุษย์จึงเป็นตัวแปรสำคัญในอันที่จะทำให้ผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากคำสั่งและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลได้รับจากการกำหนดของมนุษย์ (People ware) ทั้งสิ้น
ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information) 
ข้อมูล (Data) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่ง การทำงานของคอมพิวเตอร์จะเกี่ยวข้องกับข้อมูลตั้งแต่การนำข้อมูลเข้าจนกลายเป็นข้อมูลที่สามารถใช้ประโยชน์ต่อได้หรือที่เรียกว่า สารสนเทศ (Information) ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจจะเป็นได้ทั้งตัวเลข ตัวอักษร และข้อมูลในรูปแบบอื่นๆ เช่น ภาพ เสียง เป็นต้น

ข้อมูลที่จะนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้นั้น โดยปกติจะต้องมีการแปลงรูปแบบหรือสถานะให้คอมพิวเตอร์เข้าใจก่อน จึงจะสามารถเอามาใช้งานในการประมวลผลต่างๆ ได้เราเรียกสถานะนี้ว่า สถานะแบบดิจิตอล ซึ่งมี 2 สถานะเท่านั้น คือ เปิด(1) และ ปิด(0)



ที่มา http://www.baanjomyut.com/library_3/extension-1/computing_infrastructure/05.html

ประเภทของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์สามารถจำแนกได้หลายประเภท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของขนาดเครื่องความเร็วในการประมวลผล และราคาเป็นข้อพิจารณาหลัก ซึ่งโดยทั่วไปนิยมจำแนกประเภทคอมพิวเตอร์เป็น 7 ประเภทดังนี้ คือ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์(Supercomputer) คอมพิวเตอร์เมนเฟรม(Mainframe Computer) มินิคอมพิวเตอร์(Minicomputer) คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ(Desktop Computer) โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์(Notebook Computer) คอมพิวเตอร์พกพาขนาดฝ่ามือ(Hand-held Personal Computer) และคอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embedded Computer) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด จึงมีราคาแพงมาก ความสามารถในการประมวลผลที่ทำได้ถึงพันล้านคำสั่งต่อวินาที ตัวอย่างการใช้งานคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น การพยากรณ์อากาศ การทดสอบทางอวกาศ และงานอื่นๆ ที่มีการคำนวณที่ซับซ้อน ปัจจุบันมีการนำซูเปอร์คอมพิวเตอร์ไปใช้กับงานออกแบบชิ้นส่วนรถยนต์ งานวิเคราะห์สินค้าคงคลังหรือแม้แต่การออกแบบงานด้านศิลปะ หน่วยงานที่มีการใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ได้แก่ องค์การนาซา(NASA) และหน่วยงานธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น บริษัท General Motors และ AT&T เป็นต้น

2.มินิคอมพิวเตอร์(Minicomputer) หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานด้านความเร็วและความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลน้อยกว่าเมนเฟรม แต่สูงกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ(Desktop Computer) และสามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายคนในการทำงานที่แตกต่าง จากจุดเริ่มต้นในการพัฒนาที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำงานเฉพาะอย่าง เช่น บริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ ตลาดหลักทรัพย์สถานศึกษา รวมทั้งการให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้า เช่น การจองห้องพักของโรงแรม เป็นต้น


3.ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)
ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก บางคนเห็นว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล หรือเรียกว่า พีซี (Personal Computer : PC) สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ซึ่งอาจจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดูผลลัพธ์ โดยดำเนินการการประมวลผลบนเครื่องอื่นในเครือข่าย อาจจะกล่าวได้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ใช้งานง่าย ทำงานในลักษณะส่วนบุคคลได้ สามารถแบ่งแยกไมโครคอมพิวเตอร์ตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้




     คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กถูกออกแบบมาให้ตั้งบนโต๊ะ มีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแผงแป้งอักขระ







แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (laptop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่วางใช้งานบนตักได้ จอภาพที่ใช้เป็นแบบแบนราบชนิดจอภาพผนึกเหลว (Liquid Crystal Display : LCD) น้ำหนักของเครื่องประมาณ 3-8 กิโลกรัม








     โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (notebook computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดและความหนามากกว่าแล็ปท็อป น้ำหนักประมาณ 1.5-3 กิโลกรัม จอภาพแสดงผลเป็นแบบราบชนิดมีทั้งแบบแสดงผลสีเดียว หรือแบบหลายสี โน้ตบุ๊คที่มีขายทั่วไปมีประสิทธิภาพและความสามารถเหมือน กับแล็ปท็อป






ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (palmtop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง เช่นเป็นพจนานุกรม เป็นสมุดจนบันทึกประจำวัน บันทึกการนัดหมายและการเก็บข้อมูลเฉพาะบางอย่างที่สามารถพกพาติดตัวไปมาได้สะดวก






     แท็บเล็ต ( Tablet ) เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค พกพาง่าย น้าหนักเบา มีคีย์บอร์ด ( keyboard ) ในตัว หน้าจอเป็นระบบสัมผัส ( Touch-screen )ปรับหมุนจอได้อัตโนมัติ แบตเตอรี่ใช้งานได้นานกว่าคอมพิวเตอร์พกพาทั่วไป ระบบปฏิบัติการมีทั้งที่เป็น Android IOS และ Windows ระบบการเชื่อมต่อสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีทั้งที่เป็น Wi-Fi และ Wi-Fi + 3G




smartphone
smartphone คือ โทรศัพท์ที่รองรับระบบปฏิบัติการ ต่างๆได้ เสมือนยกเอาคุณสมบัติที่ PDA และคอมพิวเตอร์มาไว้ในโทรศัพท์ เช่น iOS (ที่ลงในมือถือรุ่น Iphone) ,BlackBerry OS, Android OS Windows phone 7 และ Symbian Os (Nokia) เป็นต้น ซึ่งทำให้ สมาร์ทโฟน สามารถลงโปแกรมเพิ่มเติม (Application) ได้
คุณสมบัติของสมาร์ทโฟน
1.การเชื่อมต่ออุปกรณ์ไร้สาย นี่เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่จะทำให้ smart-Phone เช่น นั่นคือการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ PDA โทรศัพท์เครื่องอื่น พริ้นเตอร์ หรือกล้องดิจิตอล ผ่านทาง อินฟราเรด บลูทูธ หรือ Wi-Fi
2.สามารถรองรับไฟล์ Multimedia ได้หลากหลายรูปแบบ เช่นไฟล์ ภาพ,ภาพเคลื่อนไหว เช่นภาพเคลื่อนไหวสกุล .gif เสียง ซึ่งก็จะมีหลายรูปแบบ เช่น ไฟล์ Wave, MP3, Midi ต่อไปเป็นไฟล์วิดีโอ ซึ่งจะสามารถรองรับภาพเคลื่อนไหว หรือภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียง เช่นสกุล .3gp .mp4 เป็นต้น














วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Game Online กับการศึกษา


ข้อดีหรือประโยชน์ในการเล่นเกมออนไลน์

1. เพิ่มทักษะและความสามารถในการพิมพ์ดีด
มีเด็กที่เริ่มเล่นเกม จากการไม่เคยสัมผัส แป้นพิมพ์มาก่อนเลย ไม่เคยเรียนพิมพ์ดีด แต่ทุกคนสามารถพิมพ์ดีดได้คล่องแคล่วหลังจากเล่นเกม เพราะเกิดจากความคุ้นเคยนั่นเอง

2. ฝึกการวางแผน สำหรับเกมประเภทวางแผน และการวางแผนการเล่นในเกมทั่วๆไป
ตั้งแต่การเลือกตัวละคร วางแผนการหาสถานที่ หรือฉาก ในการเก็บเลเวล ให้เหมาะสม เพราะถ้าเลเวลน้อยแล้วไปเก็บในฉากยาก ก็ไม่ได้ ..และการเก็บเลเวลในฉาก ที่เหมาะสม หรือสู้กับมอนสเตอร์ ที่เหมาะสม จะทำให้เลเวลขึ้นเร็ว ทำให้เราเก่งเร็วขึ้น รวมถึงเกม โกะ ออนไลน์ ที่เป็นเกมกีฬาประเภทวางแผนอยู่แล้ว

3. ฝึกการทำงานเป็นทีม และรู้จักแบ่งหน้าที่
เพราะตัวละครแต่ละตัว มีจุดเด่น หรือมีความเก่งกาจ ต่างกันออกไป เช่น เล่นเป็นอาชีพพ่อค้า ก็จะต่อสู้ไม่เก่ง แต่จะเด่นด้านค้าขาย ซื้อของได้ราคาถูก หาเงินเข้าทีมได้เยอะ ส่วนอาชีพไฟท์เตอร์ก็เด่นด้านต่อสู้ มีความอดทน ต้องเป็นกองหน้าให้เพื่อนๆ ส่วน อาชีพอื่น ที่อ่อนแอกว่า เช่น อาชีพ วิซาร์ด หรือนักเวทย์ ที่สามารถโจมตีได้รุนแรง โจมตีระยะไกล แต่พลังป้องกันต่ำ จะตายได้ง่าย จึงต้องมี ไฟท์เตอร์คอยกันด้านหน้า

4. ฝึกทักษะ ทางด้านการค้า
ทักษะด้านการค้า สามารถฝึกได้ในหลายๆเกม แต่จะสมจริงมากที่สุดในเกม แรคนารอคออนไลน์
- ตั้งแต่ความสามารถของอาชีพพ่อค้าแม่ค้า ที่ซื้อของจาก npc (ตัวละครในเกม) ในราคาถูกกว่าอาชีพอื่นๆ และสามารถนำมาตั้งร้านเป็นของตัวเอง เพื่อเก็งกำไรขายต่อได้
- รวมถึงการตั้งร้านรับซื้อของ ที่อาชีพอื่นๆหามาได้
- ฝึกคำนวณราคาต้นทุนที่ซื้อมา และราคาขาย
- การตั้งชื่อร้านโฆษณาให้ดึงดูดใจลูกค้า
- การบริการหรือคุยกับลูกค้า ผูกมิตร ให้ลูกค้าเกิดความประทับใจและเป็นลูกค้าประจำ
- การรับซื้อของร้อน(ในที่นี้คือ รับซื้อของที่ผู้ขายต้องการขายเพราะต้องการเงิโดยด่วน มักจะต้องเสนอราคาแข่งกับร้านอื่นๆ ให้ได้ราคาที่เหมาะสมตามต้องการ)
- การปั่นราคา Item หรือราคาสินค้า ทั้งนี้ต้องดูราคาตลาดโดยรวม เพื่อ ให้ราคาสินค้านั้นๆสูงขึ้นเมื่อของหายาก ในขณะเดียวกัน สินค้าที่เริ่มมีมาก จนล้นตลาด ราคาจะถูกลง
- การรับจ้างหาเงินในรูปแบบอื่นๆ ที่เป็นความสามารถพิเศษเฉพาะตัว เช่น อาชีพ priest สามารถ เปิดวอร์ป warp คือการเคลื่อนย้าย บุคคลไปยังเป้าหมายหรือสถานที่ที่
ต้องการ เพียงวินาทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นไปทีละคน หรือไปเป็นทีม ถือว่าเป็นการเดินทางที่สะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องเดินหรือวิ่งไกลๆ จึงสามารถ เปิดเป็นบริการขาย Warp ได้ ซึ่งข้อนี้เปรียบเสมือนการมองช่องทาง หรือสร้างโอกาสทางธุรกิจ
- การเก็งราคาสินค้า เด็กๆที่มีความสามารถด้านการค้า จะมองการณ์ไกล ว่าต่อไปจะมีอะไรใหม่ๆเข้ามา หรือสินค้าตัวไหน ที่จะเป็นที่ต้องการในอนาคตอันใกล้ จึงมีการกักเก็บสินค้าไว้ในโกดัง เพื่อเก็งราคาสินค้าให้ได้ราคาดี

5. ฝึกการเข้าสังคม
เนื่องจากเกมออนไลน์เป็นเกมที่ต้องเล่นกับผู้อื่น จึงต้องมีการปรับตัว มีการทักทาย เพื่อทำความรู้จักเพื่อนใหม่ เด็กต้องรู้จักที่จะทักทายผู้อื่นก่อน การให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพราะต้องเล่นเกมด้วยกัน

6. ฝึกการขอโทษ และให้อภัยผู้อื่น
การเล่นเกมออนไลน์ ต้องเล่นกับผู้เล่นคนอื่นๆ ที่ล็อคอิน เข้าสู่เกม มาเล่นด้วยกันเป็นจำนวนมาก หลายๆคน อาจมีจุดประสงค์เดียวกัน มีการกระทบกระทั่งกันด้วยความไม่ตั้งใจ เช่น
- นักเวทย์ กำลังยิงมอนสเตอร์อยู่ขณะที่กำลังร่ายเวทย์อยู่นั้น นักธนูซึ่งอยู่ใกล้กว่ามองไม่เห็น จึงยิงมอนสเตอร์ตัวเดียวกัน ในกรณีนี้ ต้องยอมให้อภัยกัน เพราะเกิดจาก ความ ไม่ ตั้งใจ
- หรือบางคนไปสู้มอนสเตอร์ด้วยกันเป็นกลุ่ม หรือเป็นปาร์ตี้หมู่คณะ ขณะชุลมุนเกิดความงง จึงไปตีเอามอนสเตอร์ที่อีกกลุ่มหนึ่งกำลังตีอยู่ ผู้มาทีหลัง คือคนทีมาแจม ชาวบ้านเค้า ต้องกล่าวคำ “ขอโทษ” และผู้ที่ตีอยู่ก่อน ก็ต้องรู้จักให้อภัย เพราะเค้าไม่ได้ตั้งใจ เป็นต้น

7. ฝึกที่จะเป็นคนมีน้ำใจ ให้ความช่วยเหลือผู้เล่นใหม่ ไม่เห็นแก่ตัว
บ่อยครั้งที่เห็นผู้เล่นที่เพิ่งเริ่มเล่น ไม่เข้าใจในตัวเกม หรือ การใช้คำสั่งบนแป้นพิมพ์ ว่าต้องกดสั่งอย่างไร มีข้อสงสัยในเกม ต่างๆนานา และมีผู้เล่นที่มีน้ำใจ ตอบคำถาม ให้คำปรึกษา ซึ่งถือเป็นการกระทำที่เกิดจากความมีอัธยาศัยดี แต่ก็มีเช่นกัน สำหรับผู้เล่นที่ไม่มีน้ำใจ และเห็นแก่ตัว เป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันปลูกจิตสำนึก

8. ฝึกมารยาทในการเข้าสังคม และความอดกลั้น
ผู้เล่นสามารถเล่นเกม และฝึกตนเองให้เป็นคนมีมารยาทในการเข้าสังคม ไม่ว่าจะเป็นการทักทายด้วยวาจาสุภาพกับคนที่เพิ่งรู้จัก การพูดคำ “ขอบคุณ” เมื่อได้รับความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น เช่น
- ขณะที่ผู้เล่นคนหนึ่งกำลังตีมอนสเตอร์อยู่นั้น บังเอิญถูกรุม และใกล้จะแย่ ก็มีคนมาช่วยรักษา ช่วยฮีลเพิ่มเลือด หรือค่า hp ให้ ควรฝึกให้เป็นนิสัยในการ กล่าวคำว่า “ขอบคุณ”
- แต่ในขณะเดียวกัน สังคมเกมออนไลน์ก็เหมือนสังคมโลกภายนอก มีคนดี ย่อมมีคนไม่ดี หากมีคนพูดจาไม่ดี ผู้เล่นก็สามารถเลือกที่จะ อดกลั้น ต่อคำพูดไม่ดีนั้น และกล่าวคำที่ดีออกไป ทำให้เค้ารู้สึกผิด ที่พูดจาไม่ดี แทนที่จะกล่าวคำไม่ดีเช่นกัน อย่าลืมว่าการใช้ชีวิตในสังคมของโลกในเกม ก็เหมือนโลกในชีวิตจริง เหมือนสังคมที่ทำงาน สังคมที่โรงเรียน และอื่นๆ

9. ฝึกปฏิบัติตนตามกฎกติกาของสังคม
ทุกเกม มีกฎกติกามารยาทเป็นของแต่ละเกม ถ้าจะมองให้ดี มีทั้งกฎที่เป็นเหมือนกฎหมายของเกม เช่น ห้ามทำร้ายกัน หากคุณทำร้ายผู้อื่นจนตาย คุณก็จะถูกทุกคนในสังคมเกม รุมทำร้ายจนตายเช่นเดียวกัน แต่ของดี ไอเทมในตัวจะตกอีกต่างหาก เป็นต้น แต่ในกฎที่เสมือนเป็นกฎทางสังคม ก็มี ใครจะเลือกปฏิบัติก็ได้ แต่ผู้เล่นที่ละเมิดกฎทางความคิดที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ก็จะถูกมองว่าเป็นคนไม่ดี ถูกประณาม และไม่มีใครอยากคบค้าสมาคมด้วย เช่น
- การเก็บของที่ไม่ใช่ของของตนเอง เก็บต่อหน้าต่อตาเจ้าของ ซึ่งโดยปกติผู้ที่ตีมอนสเตอร์แล้วของหรือไอเทมต่างๆ ตกลงมาต้องเป็นผู้ครอบครองของสิ่งนั้น ผู้เล่น ที่ไม่ได้ตีมอนสเตอร์แต่วิ่งไปเก็บของเค้ามา ภาษาในเกม เรียกว่า “การลูท” ถือว่าผิดกติกาสังคม เป็นต้น

10. ทำให้รู้จักเพื่อนใหม่ เกิดมิตรภาพที่ดี
เนื่องจากการไปเก็บเลเวล ต้องไปด้วยกัน ช่วยเหลือกัน เป็นทีม เกิดความเห็นอกเห็นใจกัน จึงทำให้ผู้เล่นที่คุ้นเคยกัน เกิดมิตรภาพที่ดีต่อกัน ผู้เล่นจำนวนมากที่เจอกันตามงานที่ค่ายเกมแต่ละเกมจัด แล้วได้พบปะเจอตัวจริง พูดคุยกันกลายเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันในโลกแห่งความเป็นจริง

11. รู้จักหักห้ามใจในของที่ไม่ใช่ของของตน
หลายๆครั้ง ที่ผู้เล่นมีโอกาสได้ของที่หายาก และราคาแพงในเกม แต่เนื่องจากการตกลง ที่เกิดขึ้นในทีม หรือ เพราะกติกาสังคมที่มีอยู่ ก็ต้องหักห้ามใจ ที่จะไม่เก็บของสิ่งนั้นมาเป็นของตัวเอง เช่น
a. เห็นผู้เล่นท่านอื่นพลาดท่าจากการโจมตีมอนสเตอร์ ของดีในตัวตก ทำอะไรไม่ได้ คนที่อยู่ใกล้เคียงก็ไม่ควรไปหยิบของของเค้า แล้วหนีไปถือเอาเป็นของตนเอง ทางที่ดีควรเก็บของและคืนให้เจ้าของจะดีกว่า
b. การไปเป็นหมู่คณะร่วมกันต่อสู้ ของที่ตกจากมอนสเตอร์ จะเข้าสู่ตัวผู้เล่นตามตกลงโดยอัตโนมัติ เช่น ตามลำดับรายชื่อ หรือสุ่ม แต่หากในกลุ่มมีการตกลงกัน ว่าใครที่ได้ของดี 2 ชิ้น ให้โอนชิ้นหนึ่ง ให้เพื่อนที่ยังไม่ได้ ผู้เล่นที่ได้ของดีดังกล่าว ก็ต้องทำตามที่ได้พูดคุยกันไว้ “ถือว่าเป็นการรักษาคำพูด” และรู้จัก “หักห้ามใจ”

12. ฝึกสมาธิ
เกมสามารถ ฝึกสมาธิให้เราได้เป็นอย่างดี เช่นประเภท เกมกีฬา เช่น ปังย่า (เกมกอล์ฟ) ทำให้เรารู้จักกติกาเกมกอล์ฟเสมือนจริง ฝึกสมาธิในการตีลูก ฝึกการคาดคะเน ความแรงในการตี ต้องใช้สมาธิมาก หรือเกม O2Jam เป็นเกมประเภทดนตรี ต้องกดปุ่ม ถึง 8 ปุ่ม ให้เข้าจังหวะ ตามเพลงที่เลือก ต้องใช้สมาธิอย่างมาก เพราะถ้าพลาด 1 ตัวแล้วอาจจะรวน เพราะความตกใจ ต้องควบคุมอารมณ์ ให้นิ่ง ถือเป็นการฝึกสมาธิได้เป็นอย่างดีทีเดียว

13.ฝึกทักษะความสัมพันธ์ระหว่าง มือ และตา ความรอบคอบ
ข้อนี้ สามารถฝึกได้ทั้ง เกมปังย่า (เกมกอล์ฟ) และเกม O2Jam (เกมดนตรี) เพราะการเล่นสองเกมนี้นอกจากต้องอาศัยสมาธิแล้ว ยังเป็นการฝึกทักษะความสัมพันธ์ ระหว่าง การมอง และการกดแป้นพิมพ์ และต้องใช้ความรอบคอบและเก็บรายละเอียด ช่างสังเกต เช่น
- เกมปังย่า (เกมกอล์ฟ) ต้องรู้จักสังเกต ทิศทางลม ความแรงลม ความลาดเอียงของพื้นที่ และต้องคำนวนระยะทาง กับความแรงที่เราจะตีลูกกอล์ฟออกไป ให้ตรงจุดหมาย เป็นต้น
- เกม O2Jam มีข้อดีดังนี้
1. เรียนรู้เรื่องจังหวะเพลง
2. ตัวโน๊ต ผู้เล่นที่คุ้นเคยกับตัวโน๊ต จะทำให้เล่นเกมได้ง่ายขึ้นและทักษะนี้สามารถฝึกได้
3.ฝึกประสาทสัมผัส การได้ยิน มือ ตา ฟัง และความคล่องแคล่วของนิ้ว
4.รู้สึกผ่อนคลาย สนุกสนานไปตามเสียงเพลง
5.ได้รู้จักเพื่อนๆที่มีใจรักเสียงเพลง เพื่อนคอเดียวกัน
6.ฝึกสมาธิ ควบคุมตนเอง
7.แข่งกับตนเอง พัฒนาทักษะไปเรื่อยๆ

14. ฝึกความอดทน ความพยายาม
บางอย่างในเกมก็ไม่ง่าย ต้องอาศัยความพยายาม เพราะต้องใช้เวลา และเก็บรายละเอียด ทำให้ผู้เล่นต้องมีความอดทนและความพยายาม เช่น การทำเควส หรือการปฎิบัติภารกิจ ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อที่จะได้เลื่อนขั้น เลื่อนยศ

15.รู้จักค่าของเงิน เก็บหอมรอมริบ
การจะได้อะไรสักอย่างในเกม ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า อาวุธ จะต้องมีเงินในเกม เพราะฉนั้น ต้องรู้จักเก็บเงิน ที่อาจจะได้มาครั้งละน้อยๆ รวบรวมให้เป็นเงินก้อน หรือนำของที่เก็บได้ไปขาย เพื่อเก็บเงินไว้ซื้อของที่ต้องการ

16. ฝึกให้เป็นคนเสียสละ
บางเกมการทำภารกิจ ให้กลุ่มของตนเองได้เลื่อนขั้นต้องมีข้อแม้ความลำบากมากมาย เช่นต้องไปต่อสู้กับมอนสเตอร์ที่เก่งๆ บางครั้งหัวหน้าทีม ต้องยอมสละ ค่า sp ที่ตนสะสมมาตลอดชีวิต หรือบางเควส ลูกทีมต้องยอมเสียสละ เลเวลตนเอง ที่กว่าจะเลื่อนได้แต่ละ เลเวลช่างยากเย็นนัก และลูกทีมต้องมีการสละเงินให้ทีมด้วย

17.จุดประกายให้อยากเป็นนักพัฒนาเกม
ผู้เล่นหลายคนที่ เล่นเกมแล้วเกิดไอเดีย อยากมีเกมของตัวเอง อยากเรียนคอมพิวเตอร์ และเป็นนักพัฒนาเกม หรือทำ เอนิเมชั่น ซึ่งถือว่าเป็นการจุดประกาย เป็นการเริ่มต้นที่ดี

18. เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
ผู้เล่นหลายคน ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากจุดที่ตนสนใจในเกม เช่น ในเกม TS online มีตัวละครในเรื่อง 3 ก๊ก อยู่ด้วย เด็กๆ จึงไปอ่านวรรณกรรมเรื่องสามก๊กเพิ่มเติม เพราะอยากรู้ว่า ตัวละครไหนเก่งกว่ากัน ใครชนะใคร และเนื้อเรื่องเป็นอย่างไร เพราะเนื้อเรื่องในวรรณกรรมนั้นเกี่ยวเนื่องกับเนื้อเรื่องในเกมด้วยเช่นกัน

19.ทำให้มีเพื่อนต่างชาติ ฝึกภาษา
เช่นเกม โกะออนไลน์ สามารถเล่นกับเพื่อนต่างชาติได้สดๆ สามารถพูดคุยฝึกภาษาได้ด้วย

แหล่งที่มาของข้อมูล :http://www.gamer-gate.net/index.php?a=bbs&b=view&id=20674